รีวิว She Dies Tomorrow – แพร่พันธุ์วันตาย “หนังเรื่องนี้อาจทำให้คุณปลงชีวิตหรือจิตตกกว่าเดิม” คือคำเตือนบนโปสเตอร์หน้ง พร้อมกำกับชื่อไทยกันงงว่า แพร่พันธุ์วันตาย ซึ่งสารภาพตามตรงว่าเห็นครั้งแรกยังไงก็ไม่ได้คำตอบอยู่ดีว่าหนังจะพูดถึงอะไรจะมาแนวไหนจะมีไวรัสระบาดแล้วคนตายไหมหรือเราจะได้จมจ่อมกับความทุกข์ตัวละครจนจิตตกตามชะตากรรมจนได้เห็นตัวอย่างหนังด้านบนซึ่งก็ ไม่ได้ให้คำตอบข้างต้นอยู่ดีเลยตัดสินใจตีตั๋วเข้าโรงไปตายเอาดาบหน้าแทน เรื่องย่อ
เอมี่หญิงสาวที่เกิดภาวะจิตหลอน และเชื่อว่าตัวเองกำลังจะตายในวันรุ่งขึ้น เมื่อเธอเล่าเรื่องนี้ให้บรรดาคนรอบข้างฟัง ความกลัวได้แพร่พันธุ์ออกไปไม่ต่างจากเชื้อโรคร้าย ส่งผลให้พวกเขาเกิดอุปาทานหมู่ และเชื่อว่าตัวเองกำลังจะตายในวันรุ่งขึ้นด้วยเช่นกัน พวกเขากำลังจะถึงที่ตายจริงหรือไม่ หรือนี่เป็นเพียงฝันร้ายที่พวกเขาสร้างขึ้นมาเอง
“หนังเรื่องนี้อาจทำให้คุณปลงชีวิตหรือจิตตกกว่าเดิม” คือคำเตือนบนโปสเตอร์หน้ง She Dies Tomorrow พร้อมกำกับชื่อไทยกันงงว่า แพร่พันธุ์วันตาย ซึ่งสารภาพตามตรงว่าเห็นครั้งแรกยังไงก็ไม่ได้คำตอบอยู่ดีว่าหนังจะพูดถึงอะไรจะมาแนวไหนจะมีไวรัสระบาดแล้วคนตายไหมหรือเราจะได้จมจ่อมกับความทุกข์ตัวละครจนจิตตกตามชะตากรรมจนได้เห็นตัวอย่างหนังด้านบนซึ่งก็….ไม่ได้ให้คำตอบข้างต้นอยู่ดีเลยตัดสินใจตีตั๋วเข้าโรงไปตายเอาดาบหน้าแทน
นำเสนอประเด็นหลักคือเรื่องของอาการอุปาทานหมู่ ซึ่งนักวิจารณ์ที่ต่างประเทศนิยามว่าเป็น “ideological contagion” (การแพร่กระจายในเชิงความคิด / โรคระบาดทางความคิด) หากพินิจดูแล้ว She Dies Tomorrow ก็มีองค์ประกอบคล้ายหนังโรคระบาดทั่วไป หากแต่เชื้อที่ระบาดในหนัง กลับเป็นแนวคิด ความคิด เป็นสิ่งที่มองไม่เห็น เป็นนามธรรม นั้นคือความกลัวตายที่แพร่กระจายออกไปในวงกว้าง ติดต่อจากคนสู่คน
เนื้อเรื่อง
หนังจะให้เราตามติดชีวิตตัวละครที่ชื่อเอมี (เคต ลิน เชล) ที่กำลังจมจ่อมกับความคิดที่ว่าตัวเองกำลังจะตายในวันพรุ่งนี้และคนเดียวที่เธอโทรศัพท์เพื่อขอให้มาเจอเป็นคร้้งสุดท้ายก็คือเจน (เจน อดัมส์) เพื่อนสาวนักพฤกษศาสตร์ แต่หลังจากได้คุยกับเอมี ตัวเจนก็เหมือนคิดแต่เรื่องการตายในวันรุ่งขึ้น
และยังเอาความคิดนี้ไปแพร่ให้กับเจสัน (คริส แมสซินา) น้องชายของเธอพร้อมด้วยซูซาน (เคธี อเซลตัน) น้องสะใภ้รวมถึง ทิลลี (เจนนิเฟอร์ คิม) กับ ไบรอัน (ทุนเด อเดบิมเป) คู่รักที่มาร่วมงาน และจากภาพทรงจำที่ย้อนกลับของเอมีและเรื่องราวที่แตกกระจายของแต่ละคนบางทีความตายก็แพร่ระบาดได้ไม่ต่างจากไวรัสเลยทีเดียว
ที่เล่าไปหลายคนอาจคิดว่าสปอยล์ตัวหนังนะครับแต่ขอโทษที..ถ้าไม่เล่าให้ละเอียดขนาดนี้บางทีอาจเล่าได้แค่ว่าเอมีเอาเรื่องตัวเองจะตายไปแพร่ให้คนอื่นแล้วคนอื่นก็อยากตายตาม อันนี้จะดูกำกวมเสียเปล่า
ดังนั้นสิ่งที่หนังเรื่องนี้ตั้งใจจะเล่าไม่ใช่เรื่องราวการเอาชนะความคิดเรื่องการตาย (ที่ท้ายที่สุดแล้วก็ไม่มีผลอะไรมาเป็นรูปธรรมเท่าไหร่) แต่เป็นอารมณ์ความรู้สึกที่หนังตั้งใจจะบิลต์เราให้สะพรึงและกดดันตามตัวละครมากกว่า
การเล่าเรื่อง
บทภาพยนตร์ของผู้กำกับหนัง เอมี่ ซีเมตซ์ ไม่ได้เล่าเรื่องราวเป็นเส้นตรงและไม่มีการเฉลยที่มาที่ไปอะไรชัดเจน แต่สิ่งที่วนเวียนเป็นเหมือนมวลของเรื่องคือความคิดเรื่องการตายซึ่งแม้หนังจะไม่เฉลยโดยตรงแต่มันก็พอมองออกว่าการตายที่ว่าคงเป็นการอัตวินิบาตกรรมหรือการฆ่าตัวตายมากกว่าจะเป็นการตายธรรมชาติแน่ ๆ ซึ่งมันถูกทำให้เป็นเหมือนโรคระบาดที่แพร่ต่อกันได้ผ่านคำพูดง่าย ๆ
ซึ่งหากเดาความคิดผู้กำกับไม่ผิดเหมือนซีเมตซ์จะพยายามสะท้อนภาวะซึมเศร้าที่เหมือนโรคระบาดในปัจจุบันจากทั้งครอบครัวและสังคม แต่แทนที่เธอจะทำสเกลให้มันใหญ่โตระดับโลกเธอก็เลือกให้มันแพร่กระจายในวงสังคมหนึ่งเท่านั้น
ซึ่งภาวะหมกมุ่นกับความตายดังกล่าวก็ดันเป็นเรื่องที่เธอไม่พยายามอธิบายหรือให้ปัจจัยแวดล้อมเพิ่มเติมเสียด้วยโดยคนดูจะเห็นเพียงว่าถ้าใครมาพูดพรุ่งนี้ฉันจะตายคนได้ยินก็คือจะคิดเหมือนกันแค่นั้นเอง
และยิ่งคนดูต้องตามติดตัวละคร เอมี ในช่วงแรกอย่างหนักหน่วงหนังก็มีทำให้คนดูเกิดคำถามในใจมากกว่าจะคลายปมอธิบายว่าอะไรทำให้เธอเกิดทุกข์บ้างเพราะทั้งการได้ย้ายไปบ้านหลังใหม่ เพิ่งมีแฟนหนุ่มสุดเพอร์เฟกต์ยิ่งไม่ช่วยให้คนดูรู้จักอะไรเธอเลยและยิ่งพฤติกรรมประหลาด ๆ
ทั้งการหาโกศไว้ใส่อัฐิหรือร้านทำเสื้อหนัง (เพราะเธออยากให้ผิวหนังของเธอเมื่อตายไปได้ใช้ประโยชน์) ก็ยิ่งทำให้เราไม่อาจเข้าใจเธอได้เลยอะไรทำให้เธออยากตายมากกว่าแค่เรื่องได้รับเชื้อซึ่งหนังจะเฉลยในช่วงท้ายหรือไม่
และแม้ดูหนังออนไลน์เหมือนจะพยายามอธิบายความรู้สึกของมนุษย์ในมุมอื่นอยู่บ้างเช่นความอึดอัดของซูซานที่มีต่อเจนในคืนงานวันเกิดที่เหมือนจะท้าวความเรื่องการไม่เป็นที่ต้องการของญาติและยังมีเรื่องรักร้าวที่ไบรอันกับทิลลีแอบกินแหนงแคลงใจกันมาจนได้ระเบิดเมื่อได้รับการแพร่ความคิดเรื่องการตายวันพรุ่งนี้มาแล้ว
ซึ่งตรงนี้บอกตามตรงว่าถ้าหนังให้น้ำหนักกับการอธิบายที่มาของความทุกข์ของเอมีตัวละครหลักด้วยหนังคงพาคนดูดำดิ่งและอินกับตัวละครได้มากกว่านี้แน่ ๆ แต่พอมันไปอธิบายตัวละครแวดล้อมเสียหมดและปล่อยคนดูงงเต็กกับความคิดของเอมีหนังเลยผลักคนดูออกไปเสียมากกว่า
หรือหนังทำมาให้งงกันแน่
ยังไม่ต้องไปพูดถึงว่าอยู่ดี ๆ ก็มีนักแสดงสาวห้าวอย่างมิเชล โรดริเกวซจากหนัง FAST ที่โผล่มาแบบไม่มีเหตุผลได้ยังไง ในแง่โทนหนังหลายครั้งก็ไม่รู้ว่ามันจะให้เรารู้สึกกับมันยังไงทั้งงานภาพแสงไฟดิสโก้แดงฟ้าที่แว่บไปแว่บมาให้คนดูแสบตาเล่นหลังจากมีคนได้รับ “เชื้อ”
ไปจนถึงฉากฮา ๆ อย่างป้าเจน (เพื่อนเอมีน่ะแหละ) ไปอ่อยหมอแต่หมอขอตัวไปอยู่กับเมียตอนได้รับเชื้อแต่หนังก็ดันเหมือนเอาจริงเอาจังว่านังเจนมันกลัวตายขึ้นสมองซะงั้นจนทำเอาคนดูยิ่งดูยิ่งน้ำในหูไม่เท่ากันไม่รู้ว่าดูไม่รู้เรื่องเองหรือหนังทำมาให้งงกันแน่ ?
มาว่ากันถึงนักแสดงต้องบอกว่าผู้กำกับเหมือนเลือกมาแล้วว่าคนนี้ต้องเล่นเป็นคนนี้โดยไม่ต้องพยายามไปปั้นคาแรกเตอร์มากดังนั้นตัวเอมีที่ได้เคต ลิน ชีลมารับบทนำจึงต้องเน้นหน้าสวยแต่แปลกและดูอมทุกข์ซึ่งเธอก็ประสบความสำเร็จจริง ๆ เพราะแค่เห็นหน้าคนดูก็ทุกข์ตามแล้ว
ไปจนถึงเจน อดัมส์ ในบทเจนนักพฤกษศาสตร์ที่มาแพร่เชื้อความตายให้คนอื่นก็ดูไม่น่าคบหาสมาคมด้วยจริง ๆ ส่วนตัวละครอื่น ๆ ดูจบคนดูจะได้ซีรี่ย์ Netflix แค่ความสัมพันธ์จริง ๆ ว่าคนนี้รู้จักกับคนนั้นแต่ไม่รู้อะไรเพิ่มเติมและดูเป็นส่วนเกินของหนังไปโดยปริยาย
ภาวะฟุ้งซ่านจิตตกของคน
เป็นหนังที่ถูกพูดถึงมากว่าเป็นภาพสะท้อนของภาวะฟุ้งซ่านจิตตกของคนปี 2020 (ทั้งที่หนังสร้างขึ้นในปี 2019) ในปีที่คนทั้งโลกประสบกับหายนะทั่วทุกมุมโลก เราเสพข่าวต่าง ๆ ผ่านสื่อ แล้วจมปลักกับความกลัวว่าความตายอาจอยู่ใกล้แค่เอื้อม ทั้งภัยธรรมชาติ อาชญากรรมในที่สาธารณะ โรคระบาด ความรุนแรงทางการเมือง
ด้วยความที่มนุษย์เป็นสัตว์สังคม เราจึงเกิดการแลกเปลี่ยนทางความคิด อุดมคติ จินตนาการ ซึ่งยิ่งช่วยกระพือความกลัวของคนเราไปในวงกว้าง นี่จึงยิ่งทำให้คือหนังจิตวิทยาตลกร้ายที่เป็นหมุดหมายสำคัญของปี 2020 ตามคอนเซ็ปที่ว่าความตายเป็นเรื่องใกล้ตัว แต่ไม่มีอะไรน่ากลัวเท่าความคิดเรา
แรงบันดาลใจ
การทำงานเรื่องแต่แรกเริ่มเดิมทีนั้น ผู้กำกับเอมี่ ไชมิทต์ไม่ได้ตั้งใจจะทำเป็นหนังยาว เธอแค่หาอะไรทำฆ่าเวลาจากการเขียนบทโทรทัศน์ ประกอบกับความรู้สึกที่อยากจะลุกขึ้นมากำกับงานสักชิ้น เธอจึงชวน เจย์ ไคเทล ตากล้องและ เคต ลินน์ ชีลนางเอกของเรื่อง
(ซึ่งทั้งสองเป็นเพื่อนสนิทของเธอ) มาถ่ายอะไรกัน โดยใช้เวลาเพียงอาทิตย์เดียว โดยมีไอเดียคร่าว ๆ เกี่ยวกับผู้หญิงคนหนึ่งที่กำลังจะตายในวันรุ่งขึ้น ก่อนที่จะเกิดแรงบันดาลใจเขียนบทหนังทั้งเรื่องขึ้นมา หลังจากได้ถ่าย และตัดต่อฉากเหล่านั้นไปแล้ว
ไอเดียของเรื่องมาจากช่วงที่เธอเผชิญภาวะจิตตก หรือรู้สึกหมดอาลัยตายอยากเป็นบางช่วง เมื่อเธอระบายให้คนรอบข้างฟัง กลับกลายเป็นว่ามันทำให้พวกเขารู้สึกร่วมตามกันไป นอกจากนั้นเธอยังจับสภาวะของตัวเองที่เสพสื่อมากเกินไปจนเครียด
เอมี่ยังเป็นคนที่ครุ่นคิดเรื่องความตาย เธอผ่านการสูญเสียคนสำคัญในชีวิตมากหลายคน ทั้ง เพื่อน ทั้งพ่อ จนเธอเริ่มชินชา และมองความตายเป็นเรื่องปกติ ไม่มีใครหลีกเลี่ยงความตายได้ เธอให้สัมภาษณ์ในรอบสื่อที่เทศกาลภาพยนตร์ SXSW ว่า
โดยส่วนตัวแล้ว เธอคิดว่าหนังแทบทุกประเภทล้วนว่าด้วยความตายทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นหนังดราม่า หนังวัยรุ่นหัวเลี้ยวหัวต่อ หนังวิทยาศาสตร์ หนังสยองขวัญ แม้แต่หนังรัก มันอาจจะฟังดูมืดมน แต่ต้องยอมรับว่าการที่มนุษย์มีชีวิตอยู่อย่างจำกัดนั้น มันทำให้ช่วงเวลาต่าง ๆ มีคุณค่า
เพราะหากมนุษย์อยู่เป็นอมตะ เราคงไม่ได้เรียนรู้อะไรจากการเลือกทางเดินชีวิตเลยและการได้สร้างหนังเรื่องนี้ก็เป็นการระบายความรู้สึกเหือดแห้งในใจเธอออกมา เพราะไม่ว่าอย่างไร ทุกคนก็ต้องตาย และเราควรพูดเรื่องความตายกันให้มากขึ้น
โดยรวม
ทั้งนี้ทั้งนั้น บทได้แสดงให้เห็นถึงการรับมือกับความตายของแต่ละคนว่าจะทำอย่างไร เมื่อรู้ว่าพรุ่งนี้ตัวเองจะตาย เราจะได้เห็นสิ่งเหล่านี้ชัดเจนมากในแต่ละตัวละคร ไม่ว่าจะเลือกที่จะปล่อยวาง เลือกอยู่กับคนรัก เลือกไม่อยู่กับสิ่งที่ตัวเองไม่รัก ซึ่งมันก็แฝงข้อความฝังมาในหัวเราว่า “เอ๊า แล้วตอนยังไม่รู้ว่าใกล้ตาย ทำไมไม่เลือกสิ่งที่ต้องการในชีวิตวะ”
การดูหนังเรื่องนี้ เป็นการติดตามตัวละครแต่ละครในการรับมือกับความตาย ซึ่งชวนตั้งคำถามย้อนกลับมายังคนดูว่าหากเราต้องตายพรุ่งนี้ เราจะทำอย่างไร บางคนเลือกจะทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ บางคนจมอยู่กับบาปในอดีต บางคนสติแตก บางคนตัดสินใจจบความสัมพันธ์ หนังไม่ได้ตัดสินว่าการกระทำของใครผิดหรือถูก แต่มันคือ กลไกที่เราต่างใช้รับมือกับวาระสุดท้ายของชีวิตตามเจตจำนงอิสระของเรา